ลองฟัง หูฟังค่าย FitEar ในงาน Keita Suyama Meet & Greet

Aya & Aya ~snow~

FitEar Aya

เป็นหูฟังที่ออกแบบโดยมีเอกลักษณ์จากหูฟังตระกูล C และ MH ของ FitEar และยังเป็นหูฟังที่ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้ในการผลิตตัวหูฟังด้วย

น้ำเสียงของ Aya ผมรู้สึกว่าจูนมาฟังสนุกกว่าหูฟังที่ลองก่อนหน้า เสียงเบสก็มีความหนักหน่วงกว่าหูฟังรุ่นอื่นที่ได้ลองไป เสียงแหลมนั้นมีความชัดเจนมากจนสามารถได้ยินเสียง background noise ของ Walkman ZX1 ได้ ส่วนเสียงกลางนั้นจะออกนุ่ม ๆ หวาน ๆ เหมาะกับเสียงร้องของผู้หญิงมาก แต่ไม่ค่อยเหมาะกับเสียงนักร้องหญิงที่ร้องเพลงแบบดุดันหรือนักร้องชายเท่าไร

FitEar Aya ~snow~

ส่วน Aya ~snow~ นั้น ผมคิดว่าน้ำเสียงโดยรวมก็ไม่ต่างกันกับ Aya มาก เพียงแต่จะมีปลายเสียงจะมีความแหลมขึ้นมานิด ๆ ข่วยให้เสียงร้องย่านกลางฟังแล้วดุดันขึ้น

หลังจากลอง Aya ทั้ง 2 สีเสร็จ ผมได้สอบถามความแตกต่างระหว่าง Aya ทั้ง 2 ตัวกับคุณ Suyama ซึ่งผมได้คำตอบว่า หูฟังทั้ง 2 ตัวนี้มีความแตกต่างกันแค่สีและรุ่นของสายเท่านั้น ถ้าฟังแล้วรู้สึกว่าเสียงมันแตกต่างกันก็อยู่ที่สายนี่แหละ

MH335DW Studio Reference

FitEar MH335DW SR

หูฟังตัวสุดท้ายที่ผมได้มีโอกาสลองในงานคือ FitEar MH335 DW Studio Reference ซึ่งเป็นหูฟังรุ่นบนสุดของ FitEar ประกอบด้วยตัวขับ BA ทั้งหมด 5 ตัว แบ่งเป็นตัวขับย่านเสียงต่ำ 2 ตัว เสียงกลาง 2 ตัว และเสียงสูง 1 ตัว พร้อมทั้งอัพเกรดท่อนำเสียงเป็นท่อที่ทำจากไทเทเนียม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของหูฟังค่ายนี้

เรื่องน้ำเสียงนั้น ผมรู้สึกว่าเสียงในแต่ละย่านของมันไม่มีความโดดเด่น มีปริมาณเสียงเบสและแหลมที่ไม่เยอะมาก แต่ให้น้ำเสียงที่ฟังดูเป็นธรรมชาติ และสามารถแยกแยะรายละเอียดเสียงได้ดีมาก ส่วนตัวคิดว่าเหมาะแก่การเอาไว้ไปทำผสมเสียงมากกว่าที่จะเอาไว้ใช้ฟังเพลงสนุก ๆ ครับ

FitEar Keita Suyama Meet & Greet 2017

ในช่วงระหว่างที่นั่งลองหูฟัง ผมก็ได้มีโอกาสคุยกับคุณ Suyama ในหลาย ๆ เรื่อง รวมทั้งเรื่องของหูฟังในกลุ่ม Professional ของ FitEar ซึ่งแกได้เล่าให้ฟังว่า หูฟังกลุ่มนี้กับหูฟังกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ถ้ามีรหัสรุ่นลงท้ายเหมือนกัน คือหูฟังรุ่นเดียวกัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือการบริการหลังการขาย ซึ่งในกลุ่ม Professional จะมีระยะเวลาการผลิตและซ่อมแซมต่าง ๆ ที่สั้นกว่า รวมทั้งการทำสีของหูฟังที่นอกเหนือจากการสั่งปกติให้ได้ อย่างไรก็ตามทาง FitEar ไม่สามารถออกแบบลวดลายบน face plate ได้ เนื่องจากข้อจำกัดของตัวหูฟัง แต่ก็มีศิลปินหลายคนให้พวกช่างทำเล็บ ไปตกแต่งติดเพชรให้

คุณ Suyama ยังเล่าถึงรุ่นหูฟังที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้มืออาชีพ ที่ทาง Fitear มีส่วนแบ่งในตลาดอยู่ประมาณ 60% จะประกอบไปด้วยรุ่น 334 ที่ได้รับนิยมกันมากที่สุด (วงไอดอล Nogizaka46 และ Keyakizaka46 ใช้รุ่นนี้) 335 ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มมือเบสและมือกลอง รวมไปถึง 222 และ Aya (ใช้โดย กลุ่มนักพากย์จาก Love Live) ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักร้องและนักพากย์ เพราะมีลักษณะเสียงไม่หนักจนเกินไป

สำหรับคนที่สนใจหูฟังที่เขียนถึงข้างต้น ทาง FitEar ได้เปิดรับออเดอร์สำหรับ MH335 DW Studio Reference จากไทย และมีตัวเดโมให้ทดลองฟังแล้ว สำหรับ FitEar Universal และ FitEar Custom จะเปิดรับออเดอร์ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม 2018 ส่วน Aya และ Aya ~snow~ ยังคงไม่เปิดรับออเดอร์จากไทย

รายงานงาน Keita Suyama Meet & Greet ยังไม่จบลงแค่นี้ RE.-V-> เรายังมีโอกาสสัมภาษณ์คุณ Suyama อย่างเป็นทางการด้วย แฟน ๆ FitEar รอติดตามอ่านกันได้เร็ว ๆ นี้ครับ

ขอขอบคุณทาง Jaben Thailand ที่ให้โอกาสทีมงานเข้าร่วมงานด้วยครับ

3 thoughts on “ลองฟัง หูฟังค่าย FitEar ในงาน Keita Suyama Meet & Greet

  1. Pingback: สัมภาษณ์ คุณ Suyama Keita เจ้าของ FitEar ตอนที่ 1 | RE.V –>

    1. AT1987 Post author

      ผมขีดฆ่า Aya ในบทความแล้วนะครับ ต้องขอบคุณที่เข้ามาคอมเมนต์แก้ไขให้นะครับ

      Reply

Leave a Reply