มาดูเบื้องหลัง การออกแบบ ThinkPad ในงาน ThinkPad Legendary กัน

ThinkPad Lengendary : Yesterday, Today and Tomorrow

แล้วระบบระบายความร้อนของยี่ห้ออื่น ๆ ละ จะออกแบบอย่างไรไม่รู้ แต่มีติดคำเตือนว่าให้ระวังความร้อนเอาไว้

ThinkPad Lengendary : Yesterday, Today and Tomorrow

ทาง Lenovo เลยเอากล้องความร้อนมาส่องเพื่อดูอุณหภูมิของเครื่องขณะใช้งาน เทียบกับ ThinkPad X1 Carbon สำหรับวิธีการดูปริมาณความร้อนให้ดูจากสี โดยอุณหภูมิเย็นสุดคือสีน้ำเงิน แล้วค่อย ๆ ไล่ไปสีฟ้า สีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาวคือร้อนที่สุด  สังเกตว่า ThinkPad X1 Carbon จะมีความร้อนสูงสุดตรงช่องฮีทซิงก์ระบายความร้อนเท่านั้น

ThinkPad Lengendary : Yesterday, Today and Tomorrow

แน่นอนว่าโน็ตบุ๊คที่เป็นที่หมายปองของใครหลาย ๆ คนอย่าง Macbook Pro ก็หนีการเปรียบเทียบไม่พ้น ซึ่งมีความร้อนด้านล่างเครื่องสูงมาก เนื่องจากไม่มีรูให้อากาศไหลเวียน ไม่แปลกใจเลยที่มีคนเล่นพิเรนทร์ ๆ เอาน้ำมันราดแล้วเอาเบคอนไปทอดบนนั้น จะว่าไปผมก็เคยนอนกอด Macbook Pro ตอนช่วงหน้าหนาวเหมือนกัน ให้ความอบอุ่นได้เป็นอย่างดี

ThinkPad Lengendary : Yesterday, Today and Tomorrow

เบื้องหลังอีกอย่างของ ThinkPad ที่ทำให้แบตเตอรี่นั้นสามารถใช้งานได้ระยะเวลามากขึ้น ก็คือเจ้าชิป ThinkEngine ซึ่งชิปตัวนี้มีที่มาจากว่า โดยปกติโน๊ตบุ๊คทั่ว ๆ ไปนั้น มักจะใช้ซอฟต์แวร์ (Windows) ในการควบคุมการจัดการพลังงานของเครื่อง ซึ่งแน่นอนว่าซอฟต์แวร์ไม่สามารถจัดการงานตรงส่วนนี้ได้ทั้งหมด ทาง Lenovo จึงทำชิป ThinkEngine ตัวนี้ขึ้นมาเพื่อใช้ในการจัดการพลังงานของเครื่องโดยเฉพาะ ซึ่งช่วยลดพลังงานเวลา Hibernate และปิดเครื่องจนแถบจะเป็นศูนย์

ThinkPad Lengendary : Yesterday, Today and Tomorrow

ThinkEngine ยังช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานเครื่องโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ซึ่งตรงจุดนี้ทาง Lenovo ได้ร่วมกับ Intel ในการปรับแต่งระบบเพื่อให้ใช้พลังงานน้อยที่สุด จนทำให้ ThinkPad รุ่นปี 2012 สามารถใช้งานตามมาตรฐาน JEITA 1.0 ได้ถึง 9 – 10 ชม.ด้วยแบตเตอรี่แบบ 6 เซลเท่านั้น

ThinkPad Lengendary : Yesterday, Today and Tomorrow

นอกจากนี้ มันยังช่วยให้เราสามารถ stand by เครื่องได้ถึง 30 วันอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามคุณ Kevin ก็ยกตัวอย่างการ sleep เครื่องจากเย็นวันศุกร์ถึงเช้าวันจันทร์ ซึ่งแบตเตอรี่นั้นลดลง เพียงไม่กี่ % เท่านั้น โดยได้อธิบายเกี่ยวกับตัวอย่างนี้เพิ่มเติมอีกว่า  ตัวอย่างนี้คือตัวอย่างการใช้งานจริงของผู้ใช้ทั่วไปที่อเมริกา ที่มักจะพับฝาเครื่องตอนเลิกงาน หยุดไปสองวัน แล้วกลับมาเปิดเครื่องอีกทีตอนวันทำงาน และไม่มีใครที่จะปิดฝาเครื่องทิ้งไว้ 30 วัน จึงทำให้การ stand by เครื่อง 30 วันเหมือนเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดแค่นั้นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ThinkPad ก็สามารถ stand by ได้ถึง 30 วันจริง ๆ

ThinkPad Lengendary : Yesterday, Today and Tomorrow

ส่วนสุดท้ายของฮาร์ดแวร์ ก็จะเป็นเกี่ยวกับคีย์บอร์ด ซึ่งตรงนี้ในงานไม่ได้คุยอะไรมาก แค่พูดถึงข้อดีของคีย์บอร์ดแบบ chiclets ที่ใช้ใน X1 Carbon และ ThinkPad รุ่นปี 2012 ซึ่งได้มีการวิจัยมาจนได้คีย์บอร์ดตัวนี้ ที่มีการทำรูปแป้นให้โค้งรับกับนิ้ว ทำให้พิมพ์ได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ทาง Lenovo เองยังได้กำหนดลักษณะการตอบสนองเวลากดเป็นกราฟโค้งเอาไว้ ซึ่งแป้นคีย์บอร์ดนั้นจะต้องตอบสนองให้ได้ตามกราฟตัวนี้ โดยในการทดสอบนั้นจะกดแป้นแต่ละแป้นเป็นเวลา 2 นาทีด้วยกัน

ThinkPad Lengendary : Yesterday, Today and Tomorrow

และเพื่อที่จะให้ได้การตอบสนองที่ต้องการ ทาง Lenovo ถึงกับทำการผสมสูตรของยางที่จะใช้รองใต้แป้นถึง 14 แบบด้วยกัน แล้วทำการทดสอบเพื่อให้ได้การตอบสนองที่ต้องการ ซึ่งในรูปนั้นก็คือวัสดุที่ใช้ทำยางรองแป้นตัวนั้นนั่นเอง

สำหรับใครที่อยากรู้เรื่องคีย์บอร์ดเพิ่มเติม สามารถอ่านบทความที่พี่ฟอร์ดเขียนไว้ที่ ThaiThinkPad กันได้ครับ

ต่อไป ไปดูฝั่งซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีตัวอื่น ๆ กันบ้าง

2 thoughts on “มาดูเบื้องหลัง การออกแบบ ThinkPad ในงาน ThinkPad Legendary กัน

  1. Pingback: เปิดตัวแล็ปท็อปลูกผสมจาก Lenovo ที่งาน 360° OF DO

Leave a Reply