รีวิว TIDAL บริการ Music streaming คุณภาพระดับ Lossless

tidal-x-jayz

ปัจจุบันการซื้อหาและฟังเพลงผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะบริการ music streaming ที่ทำให้เราฟังเพลงที่ต้องการในราคาแบบเหมาจ่ายรายเดือนที่ไม่แพงมากนัก แต่ก็ต้องแลกกับคุณภาพเสียงที่สูญเสียไปจากการบีบอัดข้อมูลระหว่างการสตรีมมิ่ง

วันนี้ RE.V-> จะมารีวิวใช้งาน Tidal บริการ music streaming ที่มีจุดเด่นคือการบีบอัดข้อมูลแบบ lossless เพื่อคงคุณภาพเสียงของต้นฉบับเอาไว้ครับ

TIDAL เป็นบริการ music streaming ของบริษัท Aspiro ประเทศสวีเดน เปิดตัวในปี 2014 ก่อนที่จะถูกซื้อในช่วงต้นปี 2015 โดยบริษัท Project Panther Bidco ของ Jay Z ศิลปินชื่อดังชาวอเมริกัน ซึ่งหลังจากการถูกซื้อ TIDAL ก็ได้กลับมาเปิดตัวใหม่อีกครั้ง พร้อมกับศิลปินพันธมิตรชื่อดังหลายคน ประกาศว่า TIDAL เป็นบริการ music streaming ที่ศิลปินเป็นเจ้าของโดยตรง รายได้จะไม่ผ่านผู้ให้บริการและเหล่าค่ายเพลงทั้งหลายเหมือนบริการอื่น ๆ

สำหรับผู้ใช้ทั่วไป จุดเด่นของ TIDAL นอกเหนือจากการสตรีมเพลงด้วยการบีบอัดแบบ Lossless แล้ว ยังมีมิวสิควิดีโอความละเอียดระดับ HD เพลง วิดีโอ ถ่ายทอดการแสดงสด บทความ playlist ที่สร้างโดยศิลปิน และเนื้อหาอื่น ๆ ซึ่งจะมีเฉพาะบน TIDAL เท่านั้น

tidal-subscription

รูปแบบสมาชิกของ TIDAL มีอยู่ 2 แบบ คือ TIDAL Premium ที่สตรีมเพลงที่บีบอัดแบบ lossy ราคาเดือนละ 179 บาท และ TIDAL HiFi ที่สตรีมเพลงที่บีบอัดในรูปแบบ lossless ราคาเดือนละ 358 บาท ซึ่งรูปแบบบริการที่เราได้มีโอกาสทดลองใช้คือ TIDAL HiFi ครับ

tidal-platforms-support

บริการของ TIDAL รองรับการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ด้วย web player ผ่านเบราว์เซอร์ยอดนิยมทั้ง Firefox, Safari แต่ถ้าต้องการเล่นเพลงแบบ lossless ต้องใช้ Chrome เท่านั้น ส่วนอุปกรณ์พกพาจะมีแอพสำหรับระบบปฏิบัติการ iOS 7 ขึ้นไป และ Android 4.4.4 ขึ้นไปให้ นอกจากนี้ TIDAL ยังสามารถใช้งานกับ network player จากบริษัทเครื่องเสียงชั้นนำ ทั้ง SONOS, LINN, Meridian เป็นต้น

ในการใช้งาน TIDAL ผมได้ใช้ web player ผ่าน Chrome บนคอมพิวเตอร์ และลงแอพของ TIDAL บน Walkman ZX1 ซึ่งก็ทำผมแปลกใจว่าทำไมถึงลงได้ เพราะ Android ของมันแค่เวอร์ชัน 4.1 เท่านั้น

tidal-web-player

Web player บน Chrome

หน้าตาของ web player และแอพบนอุปกรณ์พกพานั้นอาจจะแตกต่างเพราะขนาดของหน้าจอกันไปบ้าง แต่การทำงานต่าง ๆ นั้นไม่แตกต่างกันเท่าไร การใช้งานจัดว่าง่าย ไม่ยุ่งยากเท่าไร

tidal-android-app tidal-android-app-menu

App บน Android

เพลงที่ทาง TIDAL ให้บริการ จะเป็นเพลงสากลจากค่าย Big Three คือ Sony Music, Universal Music และ Warner Music ซึ่งน่าจะครอบคลุมความต้องการของเหล่าคอเพลงสากล นอกจากนี้ยังมีเพลงภาษาอื่น ๆ อีก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย ให้เลือกฟังกันอีกด้วย

tidal-web-player-tidal-rising

นอกจากนี้ยังมีเพลงจากศิลปินค่ายเล็ก ๆ และศิลปินอินดี้ให้เลือกฟังอีกมากมาย ซึ่งเพลงในกลุ่มหลัง ทาง TIDAL ก็มีเมนู TIDAL Rising และ TIDAL Discovery เพื่อแนะนำเพลงในกลุ่มนี้ให้ผู้ใช้ TIDAL ได้รู้จักด้วย

tidal-web-player-artist

หน้ารายละเอียดศิลปินจะมีข้อมูลทั้งเพลงที่ได้รับความนิยม อัลบั้มและซิงเกิ้ลของศิลปิน วิดีโอ ประวัติและลิงก์ไปยังเว็บของศิลปิน นอกจากนี้ยังมี Artist Radio เพื่อให้ TIDAL สุ่มเพลงที่น่าสนใจที่มีแนวคล้าย ๆ กับศิลปินที่เลือกได้

tidal-android-app-audio-search tidal-android-app-audio-search-result

บนแอพสำหรับอุปกรณ์พกพาจะมี Audio Search เพื่อค้นหาเพลงจากฐานข้อมูลของ Gracenote ด้วยเสียงเพลงที่เราฟัง คล้าย ๆ กับ TrackID หรือ Shazam

ส่วนระบบค้นหาทั่วไปของ TIDAL จากการที่ทดลองใช้งาน ยังติดปัญหาอยู่บ้าง คือมันยังไม่ฉลาดพอที่จะเดาสิ่งที่เราต้องการแต่พิมพ์ผิดได้ และบางครั้งถึงผลการค้นหาจะขึ้นมาว่าเจอศิลปินที่ต้องการ แต่เวลาเปิดจริง ๆ ก็ขึ้น not found แทน

tidal-web-player-profile

เมื่อเราเจอศิลปิน เพลง อัลบั้ม หรือ playlist ที่น่าสนใจ เราสามารถกด favorite เก็บเอาไว้ใน profile ของเราได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็จะตามเราไปยังทุกที่ที่เราล็อกอิน Web player และแอพบนอุปกรณ์พกพาที่เราได้ sign in ไว้

ต่อไป เราไปดูส่วนของ player กันครับ

3 thoughts on “รีวิว TIDAL บริการ Music streaming คุณภาพระดับ Lossless

  1. Pingback: ลองฟังเพลงในระบบเสียง 360 Reality Audio และ Dolby Atmos ที่ TIDAL | RE.V –>

Leave a Reply to อิสระ ฉิมพรประพันธ์Cancel reply